สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารหลายล้านคนเสียชีวิตและอีกหลายล้านคนบาดเจ็บ เทคโนโลยีในการรบแบบใหม่และล้ำสมัยได้มีผลกระทบกระเทือนร่างกายของมนุษย์ และมักทิ้งรอยแผลเป็นอันน่าสยดสยองไว้เบื้องหลัง และทหารราว 280,000 นายกลับมาจากสงครามด้วยอาการบาดเจ็บที่ใบหน้าอย่างรุนแรง
เมื่อทหารอังกฤษกลับจากการทำสงครามพร้อมกับบาดแผลเหล่านี้ พวกเขาถูกเรียกว่า “loneliest Tommies.” (ทอมมี่ที่โดดเดี่ยวที่สุด) หากพวกเขาออกจากโรงพยาบาล พวกเขาจะได้รับคำสั่งให้นั่งบนม้านั่งสีฟ้าสดใสเพื่อที่ประชาชนจะได้ไม่ต้องมองพวกเขา แต่ศัลยแพทย์คนหนึ่งชื่อ ดร.ฮาโรลด์ กิลลีส์ มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ใบหน้า และในปี 1917 เขาได้บุกเบิกการทำศัลยกรรมพลาสติกสมัยใหม่
ดร.ฮาโรลด์ กิลลีส์
ดร.ฮาโรลด์ เป็นศัลยแพทย์ชาวนิวซีแลนด์ที่ได้รับการฝึกฝนในอังกฤษ หลังจากสมรภูมิที่ฝรั่งเศสในปี 1915 เขาได้เห็นบาดแผลบนใบหน้าจากทหารผ่านศึกอันน่าสยดสยองที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการทำสงครามรูปแบบใหม่นี้ เมื่อเขากลับมาอังกฤษ ดร.ฮาโรลด์ ได้จัดตั้งวอร์ดพิเศษสำหรับบาดแผลบนใบหน้าที่โรงพยาบาลทหารเคมบริดจ์ในเมืองอัลเดอร์ช็อต
ในปี 1916 ดร.ฮาโรลด์ ได้เกลี้ยกล่อมหัวหน้าแพทย์ของเขาว่าต้องมีโรงพยาบาลเฉพาะสำหรับการบาดเจ็บที่ใบหน้าเพื่อตอบสนองความต้องการ
และในปี 1917 ดร.ฮาโรลด์ ได้ก่อตั้งโรงพยาบาล The Queen’s Hospital ที่ Frognal House เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของโลกที่อุทิศให้กับการรักษาอาการบาดเจ็บที่ใบหน้า
ทหารที่รับการศัลยกรรม
ทหารที่รับการศัลยกรรม
ดร.ฮาโรลด์ ยังคงฝึกฝนส่วนตัวเป็นเวลาหลายปี เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้น เขายังเข้าปฏิบัติหน้าที่อีกครั้งเพื่อช่วยเหลือทหารอังกฤษ
แต่แม้ในช่วงเวลาที่สงบสุข ดร.ฮาโรลด์ทำทุกอย่างเพื่อปรับปรุงชีวิตผู้ป่วยของเขา แล้วได้ทำการศัลยกรรมแปลงเพศครั้งแรกในคนข้ามเพศ ในช่วงปลายทศวรรษ 1940 และต้นทศวรรษ 1950
แท้จริงแล้ว ดร.ฮาโรลด์ กิลลีส์ ยังคงทุ่มเทให้กับงานของเขาแม้ในวาระสุดท้ายของเขา เขาเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองในขณะทำการผ่าตัดที่ขาของผู้ป่วย ในลอนดอนเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2503 (อายุได้ 78 ปี)
อ้างอิง – nam.ac.uk / allthatsinteresting