UY Scuti ถูกค้นพบและตั้งชื่อให้เป็นครั้งแรกในปี 1860 โดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันที่หอดู Bonn Observatory ซึ่งกำลังเสร็จสิ้นการสำรวจดาวสำหรับแค็ตตาล็อก Bonner Durchmusterung Stellar ซึ่งเป็นดาวดวงที่ 5,055 ระหว่าง 12°S ถึง 13°S นับจาก 0h ทาง right ascension
UY Scuti (BD-12°5055) เป็นดาวฤกษ์ประเภท Red Supergiant (ดาวยักษ์ใหญ่แดง) หรือ red supergiant star ในกลุ่มดาวโล่ มีรัศมีที่ศูนย์กลางใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 1,708 เท่า (1,708 solar radius) มีปริมาตรเกือบ 5 พันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างประมาณ 9,500 ปีแสงจากโลก และหากวาง UY Scuti ไว้ที่ศูนย์กลางของระบบสุริยะแทนดวงอาทิตย์ ผิวของดวง (Photosphere) จะสามารถกลืนวงโคจรของดาวพฤหัสบดีได้เลย ทำให้ UY Scuti ครองตำแหน่งดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุดในกาแล็กซีทางช้างเผือก ณ ตอนนี้ที่เราค้นพบ
ภาพจำลอง UY Scuti ที่อยู่ในตำแน่งของดวงอาทิตย์
UY Scuti มีความสว่างมากกว่าถึง 340,000 เท่าของดวงอาทิตย์ แต่มันมีอุณหภูมิผิวเพียงแค่ 3,400 องศาเซลเซียลหรือต่ำกว่าของดวงอาทิตย์เกือบครึ่ง เนื่องจากขนาดที่กว้างใหญ่และมวลประมาณ 20 ถึง 40 เท่าของดวงอาทิตย์ของมันส่งผลทำให้เราคำนวณความหนาแน่นของมันออกมาได้น้อยกว่าน้ำเอามาก ๆ นั้นก็คือ UY Scuti มีความหนาแน่นเพียง 7 ×10⁻⁶ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (น้อยกว่าน้ำเกือบพันเท่า) สมมุติเล่นๆ คือ UY Scuti สามารถลอยบนน้ำได้เลย
อ้างอิง – quora / livescience.com / wikipedia / spaceth